Skip to content
Article/Infographic

พาถอดรหัส “ชัชชาติฟีเวอร์” ที่สะเทือนไปทั้งปฐพีผ่านปรากฏการณ์ชัชชาติที่เกิดขึ้นในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

ท่ามกลางอุณหภูมิการเมืองระดับประเทศที่ร้อนระอุ ความต้องการที่จะเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ปรากฎให้เห็นผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา กว่า 1,386,215 ความหวังและความไว้วางของชาวกรุงเทพฯ ส่งผลให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คว้าชัยในครั้งนี้อย่างถล่มถลาย

“ปรากฏการณ์ชัชชาติ” ไม่เพียงสั่นสะเทือนเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การเรียกร้องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ

Note: บทความนี้ใช้ข้อมูลจาก ZocialEye by Wisesight เก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1 มิ.ย. – 31 ก.ค. 65 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://wisesight.com/zocialeye

กระแสผู้ว่าฯ ในโซเชียลช่วงสองเดือนที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง?

เดือนมิถุนายน ชัชชาติเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ จำนวนข้อความที่กล่าวถึงผู้ว่าฯ นั้นมีกว่า 60,339 ข้อความ และ Engagement จำนวน 30,717,901 ครั้ง แต่ในเดือนกรกฎาคมจำนวนข้อความลดลงอย่างเห็นได้ชัดเหลือ 36,637 ข้อความ และ Engagement จำนวน 17,504,936 ครั้ง และกว่า 60 % ของจำนวนข้อความทั้งหมดถูกพูดถึงในช่องทาง Facebook มากที่สุด รองลงมาเป็น Twitter และ Instagram

พาส่องปรากฏการณ์ชัชชาติผ่าน Top engagement

ย้อนไทม์ไลน์ไปกับข้อความที่มียอด Engagement สูงสุดในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2565

  • ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 กกต. ยังไม่รับรองผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากนาย ศรีสุวรรณ จรรยา เรื่องกระเป๋าป้ายหาเสียงซึ่งอาจทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้ส่อไปในทางทุจริต แต่อย่างไรก็ตาม วันที่ 1 มิถุนายน ชัชชาติได้เข้ารับตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ บนโลกออนไลน์มีการพูดถึงกว่า 5,717 ข้อความ และ มีจำนวนการเข้าถึง 3,693,659 ครั้ง
  • [ชัชชาติ สิทธิพันธุ์](https://www.facebook.com/chadchartofficial?__tn__=-
    ได้ไลฟ์สดผ่านทางเฟสบุ๊คพร้อมกับข้อความ “มาถึงแล้ว… ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์”มาถึงแล้ว… ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร กับ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | By ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | Facebookhttps://twitter.com/Voralux_ThaiPBS/status/1531894761249857537
  • ถึงแม้ว่าการพูดถึงจะลดลงหลังจากวันแรกที่ได้รับตำแหน่ง แต่ชัชชาติก็กลับมาเป็นที่พูดถึงอีกครั้งในวันที่ 4 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันจัดงานเทศกาล Pride Month
    “บางกอก นฤมิตร ไพรด์ 2022” ในวันนี้มีการพูดถึงในโลกโซเชียลกว่า 3,736 ข้อความ และมีจำนวนการเข้าถึง 2,027,304 ครั้ง
  • https://twitter.com/Aekvarunyoo/status/1532928786148122624
    ในขณะเดียวกันก็มีกระแสตีกลับเรื่องความถี่การไลฟ์สดLog in or sign up to view
  • วันที่ 14 มิถุนายนมีการพูดถึงในโลกโซเชียล 1,524 ข้อความ และมีจำนวนการเข้าถึง 1,252,429 ครั้ง ข้อความที่ได้รับความนิยมพูดถึงเรื่องผู้ว่าฯ ดำเนินการเตรียมร่างประกาศให้สถานศึกษาเป็นเขตปลอดกัญชา หลังจากได้รับรายงานเรื่องการใช้กัญชาเกินขนาดของเยาวชน
    https://www.facebook.com/ejan2016/photos/a.640342722793404/3218646494963001/
  • วันที่ 21 มิถุนายน มีการพูดถึงในโลกโซเชียล 2,379 ข้อความ และมีจำนวนการเข้าถึง 1,505,440 ครั้ง ข้อความที่ได้รับความนิยมกล่าวถึงเรื่องผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่ตรวจดูการลอกท่อของผู้ต้องขัง อีกทั้งยังพูดโครงการ Open Bangkok Open Data การเปิดเผยข้อมูล(ที่สามารถเปิดเผยได้) ของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการการใช้งบประมาณ
    Log in or sign up to viewhttps://twitter.com/TarotYouuuu/status/1539176371296997376
  • วันที่ 29 มิถุนายน มีการพูดถึงในโลกโซเชียล 2,310 ข้อความ และมีจำนวนการเข้าถึง 1,344,821 ครั้ง ข้อความที่ได้รับความนิยมเกี่ยวกับเรื่องการให้ความร่วมมือกับผู้ว่าฯ ในโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้น
    https://www.facebook.com/tanichitan/photos/a.160540450634082/5507751582579582/
  • วันที่ 3 กรกฎาคม มีการพูดถึงในโลกโซเชียล 1,974 ข้อความ และมีจำนวนการเข้าถึง 1,706,526 ครั้งNation Online โพสต์วิดีโอชัชชาติร่วมรับประทานอาหารกับพนักงานฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะกทม.https://www.facebook.com/watch/?v=610372150511132
  • วันที่ 6-7 กรกฎาคม มีการพูดถึงในโลกโซเชียล 2,753 ข้อความ และมีจำนวนการเข้าถึง 1,408,768 ครั้ง ข้อความที่ได้รับความนิยมกล่าวถึง #กรุงเทพกลางแปลง ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบาย “12 เดือน 12 เทศกาล”
    https://www.facebook.com/watch/?v=366077308984068

    https://www.facebook.com/VoiceOnlineTH/posts/pfbid0fXm7nmLmH8VQRVmzf43Jtp334Lz2m4c4tsTjKNLeM7LJCAJq8f2roNMch6nkVCypl

  • วันที่ 10 กรกฎาคม มีการพูดถึงในโลกโซเชียล 1,448 ข้อความ และมีจำนวนการเข้าถึง 1,082,776 ครั้งhttps://www.facebook.com/photo/?fbid=622515209235422&set=a.328293581990921

ช่วง 16-20 กระแสบนโลกออนไลน์ลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด มีการพูดถึงทั้งหมดเฉลี่ยวันละ 743 ข้อความ มีจำนวนการเข้าถึงโดยเฉลี่ยวันละ 245,496 ครั้ง

  • แต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 กรุงเทพฯ ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วม การพูดถึงชัชชาติบนโลกออนไลน์กลับมาพุ่งสูงอีกครั้งกว่า 3,238 ข้อความ มีจำนวนการเข้าถึง 1,715,035 ครั้ง และคำว่า “น้ำท่วม” ปรากฎใน 1,286 ข้อความ หรือคิดเป็น 39.72% และพบคำว่า “ขยะ” 363 ข้อความ หรือคิดเป็น 11.21% ซึ่งแสดงว่ามีปัญหาขยะเกิดขึ้นในวันเดียวกัน มาดูกันว่าผู้ว่าฯ ตอบเรื่องนี้ว่าอย่างไร

    https://www.facebook.com/khaosod/photos/a.697577963592499/7769932886356936/https://www.facebook.com/photo/?fbid=631033621716914&set=a.328293581990921

  • วันที่ 30 กรกฎาคม 2565 เกิดกระแสตีกลับ ‘เทพ โพธิ์งาม’ วิจารณ์การไลฟ์สดของผู้ว่าฯ และเปรียบเทียบการทำงานกับรัฐบาล
    https://www.facebook.com/photo/?fbid=638415247645418&set=a.328293581990921

ข้อความที่มียอด Engagement สูง ส่วนมากเป็นการที่สื่อ/ผู้สื่อข่าวรายงานการปฏิบัติงานของผู้ว่าฯ เช่น การเริ่มแผนตามนโยบาย การดำเนินการแก้ปัญหา และการร่วมงานกับบุคคลที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ การรายงานสถานการณ์ผ่านการไลฟ์สดไม่เพียงแต่ทำให้ชัชชาติถูกพูดถึงในโลกออนไลน์มากขึ้น แต่ยังทำให้ชัชชาติเป็นนักการเมืองที่ดูทันสมัย เข้าถึงง่ายและมีความพร้อมที่จะแก้ปัญหา ในบทความ การเมืองไทย(หลัง)ปรากฏการณ์ชัชชาติ พ้นจากระบบสองพรรค – ขวาจัด(ไม่)นิยม รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ อธิบายลักษณะการทำงานของชัชชาติไว้ว่า

“แนวทางการเมืองแบบชัชชาติ” ซึ่งเน้นการหาเสียงแบบสร้างสรรค์ ทันสมัย เป็นมิตร สุภาพอ่อนน้อม สร้างความหวัง แสวงหาแนวร่วมแบบกว้างขวาง (ในลักษณะ rainbow coalition คือแนวร่วมหลากหลายสีสันที่ดึงคนที่มีเฉดความคิดทางการเมืองต่างกันให้มาสนับสนุนผู้สมัครคนเดียวกันได้) ขายนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่มาจากการทำการบ้านในพื้นที่ นำเสนอวิสัยทัศน์ที่มาจากฐานความรู้แต่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและจริงใจ จนทำให้เกิดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจในหมู่ผู้เลือกตั้งถึงความจริงจังและความมุ่งมั่นในการทำงาน

Over PR ? อวยตัวเองหรือใครๆ ก็ให้ความสนใจ

 

จากการสำรวจการพูดคุยของคนในโซเชียลมีเดียในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาพบว่า บัญชีผู้ใช่ที่กล่าวถึงผู้ว่าชัชชาติสามารถแบ่งประเภทของบัญชีผู้ใช้ได้เป็น 18 ประเภทหลัก (36 ประเภทย่อย) ประเภทที่กล่าวถึงมากที่สุดคือ ประเภทข่าวหรือผู้สื่อข่าว (News and Reporter) จำนวนข้อความทั้งหมด 17,085 ข้อความ รองลงมาเป็นนักการเมือง (Politician) 11,332 ข้อความ และตามด้วยสื่อและความบันเทิง (Media and Entertainment) 5,478 ข้อความ

ดังนั้นเบื้องหลังความสำเร็จในการประชาสัมพันธ์ไม่ได้มาจากฝั่งผู้ว่าฯ เพียงอย่างเดียว เพราะกว่า 96,976 ข้อความ และยอดการเข้าถึงกว่า 48,222,837 ครั้ง ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเป็นเครื่องยืนยันว่าผู้ว่าฯ เป็นที่สนใจของสาธารณะ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชัชชาติแตกต่างจากภาพลักษณ์ของนักการเมืองทั่วไปที่มีลักษณะเข้าถึงยาก ทำงานไร้ประสิทธิภาพ ไม่ทันสมัย และขาดความจริงใจ จึงทำให้การ PR ของชัชชาติมีประสิทธิภาพและได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายเป็นอย่างดี

แม้ว่ากระแสในโลกออนไลน์ของผู้ว่าฯ จะลดลงจากเดือนที่เข้ารับตำแหน่ง รวมถึงมีการพูดถึงน้อยลงในบางช่วงของเดือน แต่ปรากฏการณ์ชัชชาติไม่ได้จบลงที่การเลือกตั้ง ไม่ได้จบลงที่คะแนนเสียงแลนด์สไลด์ แต่ปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่ผู้ว่าฯ ยังคงทำงาน ทำงานและทำงานอยู่

แต่ไม่ว่าปรากฏการณ์ชัชชาติจะไปต่อหรือหยุดอยู่แค่นี้ เรามาร่วมแก้ปัญหา ร่วมให้กำลังใจและติดตามการทำงานของผู้ว่าฯ กันต่อไปกันดีกว่า

แล้วคุณคิดว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ชัชชาติสอบผ่านไหม?

“จัดทำข้อมูลและวิเคราะห์โดยทีมงาน Punch Up ผ่านเครื่องมือ ZOCIAL EYE by Wisesight”

อ้างอิง

<Author>
Data-storytelling Consulting and Studio