Skip to content
Article/Infographic

ล้างหนี้กยศ โซเซียลเดือดกับอะไรในเรื่องนี้ ?

เกิดอะไรขึ้น ทำไม “#ล้างหนี้กยศ” ขึ้นเทรนทวิตเตอร์

สำรวจข้อมูลวันที่ 13 สิงหาคม 2565 – 20 สิงหาคม 2565

ก่อนอื่นกยศ. คืออะไร?

กยศ. หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ให้เงินกู้เพื่อเรียนต่อ โดยการสนับสนุนค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าครองชีพ ให้กับนักเรียนและนักศึกษาที่มีความจำเป็น โดยไม่คิดดอกเบี้ยระหว่างที่ศึกษาอยู่ https://www.studentloan.or.th

  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์ไม่มาก ต้องการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัว หรือต้องการบริหารจัดการเงินเพื่อการศึกษาด้วยตนเอง
  • กู้ได้ตั้งแต่นักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ) ถึงในระดับปริญญาตรี

“ ต้องชำระเงินคืนหลังจากจบการศึกษาแล้ว”

  • การชำระเงินกู้ยืม ต้องชำระพร้อมทั้งดอกเบี้ย 1% ต่อปี (โดย 2 ปีแรกไม่คิดดอกเบี้ย)
  • ชำระภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
  • ปีแรกต้องชำระเงินคืน 1.5% ของเงินต้น อัตราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงปีที่ 15 ต้องจ่าย 13%

*สามารถพักชำระหนี้ได้กรณีที่จบมาแล้วยังไม่มีงาน

 

จากหลายข่าว หลายความเห็นที่การชำระหนี้กยศ. มีปัญหา ส่วนใหญ่เป็นกรณีการผิดนัดชำระหนี้

เพราะหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ จะต้องพบเจอกับสิ่งเหล่านี้

  1. จะทำให้เกิดเบี้ยปรับเป็นจำนวนมาก
  • ปกติหากผู้กู้ถูกดำเนินคดี ศาลจะพิพากษาให้ชำระเบี้ยปรับในอัตรา 7.5% ต่อปี
  • แต่กยศ. ก็มีมาตราลดหย่อน (ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2564 – 31 ธันวาคม 2565)
    • จากเบี้ยปรับอัตรา 7.5% เป็น 0.5% ต่อปี
    • ถ้าผู้กู้ยังไม่เคยโดนคดีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเหลือ 0.01% ต่อปี
    • ผู้กู้ยืมเงินที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนกองทุนและไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ ลดเงินต้น 5%
    • สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้และต้องการปิดบัญชีในคราวเดียว ลดเบี้ยปรับ 100%
    • สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี ลดเบี้ยปรับ 80%
    • กองทุนได้มีมาตรการชะลอการฟ้องร้องดำเนินคดี ชะลอการบังคับคดีไว้ เว้นแต่คดีที่จะใกล้ขาดอายุความ และงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้กู้ยืมเงิน
      หรือผู้ค้ำประกัน
  • และในปี 2565 สามารถกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันได้
    • แต่ยังคิดอัตราดอกเบี้ย 1% และคิดเบี้ยปรับตามคำพิพากษา แต่หากยังไม่ถูกดำเนินคดีจะคิดเบี้ยปรับเพียง 0.5%

สามารถดูตัวอย่างการคำนวณการชำระหนี้ได้จากภาพหรือตารางด้านล่าง

ตารางคำนวณยอดหนี้ด้วยตัวเอง. (4).xlsx

2. หากไม่ชำระเป็นเวลานาน จะถูกฟ้องร้อง โดนกรณีต่อไปนี้

  • ชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป)
  • พ้นระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้แล้ว แต่ยังมีหนี้ค้างชำระ
  • ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี (มีหนี้ค้างชำระ) ในกรณดังนี้
    • ไม่เป็นผู้กู้ยืมเสียชีวิตหรือสาบสูญ
    • ไม่เป็นผู้กู้ยืมพิการหรือทุพพลภาพ ที่ได้รับอนุมัติให้ระงับการเรียกให้ชำระหนี้แล้ว
    • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ชำระหนี้ปิดบัญชีแล้ว หรือผู้รับทุนที่มีบัญชีติดลบ
    • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดีแล้ว
    • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ยินยอมให้กองทุนฯ หักเงินเดือน
    • ไม่เป็นผู้กู้ยืมชำระหนี้มากกว่า 10% ของยอดหนี้คงเหลือ (ผลรับชำระหนี้ 2 ปี ย้อนหลัง)
    • ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

3. กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ทราบและขอให้มีการชำระหนี้ หากไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดจะส่งรายชื่อให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินคดี

4. บมจ.ธนาคารกรุงไทยดำเนินการฟ้องคดี กับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (จะได้รับหมายศาล)

  • มีหมายศาลนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม
  • ศาลพิพากษา ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา จะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน และจะสืบทรัพย์ ของทั้งผู้กู้และผู้ค้ำ และบังคับ “ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด” ตามกฎหมายต่อไป

https://www.studentloan.or.th/th/highlight/1547359402

แต่มีประเด็นจนเป็นแฮชแท็กเกี่ยวกับกยศ.ขึ้น ซึ่งเกิดอะไรขึ้นมาย้อนไทม์ไลน์กันหน่อยกับ #ล้างหนี้กยศ

ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม ถึง 20 กันยายน มีข้อความที่กล่าวถึงเรื่องนี้ 8,540 ข้อความ มีจำนวน Engages ถึง 1,324,110 โดยช่องทางข้อความสูงสุดคือ Twitter (ทวิตเตอร์)

  • วันที่ 13/08/65 : จุดเริ่มต้นเริ่มแคมเปญ #ล้างหนี้กยศ มี 22 ข้อความ โดยเชิญชวนให้คนเข้ามาเริ่มลงชื่อในแคมเปญ 10,000 รายชื่อเพื่อยื่นแก้ไขกฎหมายกองทุนกยศ. หลังจากนั้นแคมเปญนี้ถูกแชร์ตามโซเซียลมีเดีย

https://www.facebook.com/100000434659404/posts/pfbid02mBcMof5LLGMahVrbDB2syWC7V6xwpiopUMzpMGp5ypoT4kRvRX5z5zaBVsZjReV8l/?sfnsn=mo

    • วันที่ 14/08/2565 : มี 7 ข้อความ เริ่มมีคนไปคอมเม้นต์ในเว็บไซต์ข่าวและสื่อชื่อ ไทยนิวส์ ที่ลงข่าว “ลูกหนี้ กยศ.” มีคอนโด 3 ล้าน ไม่จ่ายหนี้กยศ. 3แสน

  • วันที่ 15/08/2565 : มี 6 ข้อความ ในวันนี้นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม รองประธานคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
    (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. แถลงข่าวว่าคณะ กมธ. ได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว


    https://www.banmuang.co.th/news/politic/292172
  • วันที่ 16/08/2565 : มี 5 ข้อความ โดยมีข้อความในทวิตเตอร์แชร์โพสต์ ให้ลงสนับสนุนร่างกฎหมาย ใช้ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นแก้ร่างกฎหมายกองทุนกยศ. ต่อรัฐสภา ข้อความนี้จำนวน Engagement 8,603
    • แต่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็น เช่น โพสต์นี้จำนวน Engagement 3,663
  • “ทำไมต้องโยนหนี้กลับไปให้กับทางรัฐ ในเมื่อตอนกู้ ผู้กู้ก็รู้อยู่แล้วว่าต้องชำระคืนเมื่อเรียนจบ และดอกเบี้ยกับยอดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนก็ไม่มากเลย / ปล. ผมก็กู้ กยศ เหมือนกันครับ ตัดจากบัญชีเงินเดือนทุกเดือน”

    https://twitter.com/JiPaTaBook/status/1559386329674240002

    https://twitter.com/moonxcamellia/status/1559542543775580160
  • วันที่ 17/08/2565 : มีข้อความ 943 ข้อความ แต่ว่า เริ่มมีการถกเถียงกันเพิ่มขึ้น โดยออกเป็น 2 ฝั่ง มีทั้งเชิงลบและเชิงบวก และเริ่มมีประเด็นเกี่ยวกับ “การทำจิตอาสาเก็บเป็นชั่วโมงถ้ากู้หนี้กยศ”
    • โดยข้อความที่มี engagement 53,373

   ”เรื่องหนี้กยศ.ควรยกเลิกกิจกรรมเก็บชั่วโมงจิตอาสา เพราะเขากู้ยืมไม่ได้ขอฟรี ไม่เห็นต้องทำอะไรแลกเงินขนาดนั้น”

    • โดยข้อความรองลงมา engagement 24,575

      “ส่วนตัวนี่ก็กู้ แต่ไม่เห็นด้วยกับ #ล้างหนี้กยศ กู้ได้ก็ต้องใช้คืนได้สิ อันนี้มันไม่เกี่ยวกับสิทธิแต่มันคือหน้าที่มากกว่านะคะ สิ่งที่ควรยกเลิกคือ กิจกรรมจิตอาสามากกว่าค่ะ ลองกลับไปทบทวนดูดีๆนะคะว่า ความเท่าเทียมทางการศึกษากับล้างหนี้กยศ มันใช่เรื่องเดียวกันจริงๆหรอ”

      https://twitter.com/Im__ployy/status/1559820122600407040
  • วันที่ 18/08/2565 : เป็นวันที่มีข้อความสูงที่สุด 2,207 ข้อความ คนแชร์แสดงความคิดเห็นในโซเซียลมีเดียสูงที่สุด หลายสำนักข่าวให้ความสนใจและเริ่มออกมานำเสนอข่าวมากยิ่งขึ้น วันนี้เกิดเป็นดราม่ามีโพสต์ ขอต่อต้านการล้างหนี้กยศ

มีข้อความที่มี engagement 60,114 ที่ขอต่อต้านการล้างหนี้กยศ. กู้หนี้มาเรียน ก็ต้องใช้ เพื่ออนาคตเด็กรุ่นต่อไป

https://www.facebook.com/DramaAdd/photos/a.411063588290/10160699416893291/

  • วันที่ 19/08/2565 : มีข้อความ 1,285 ข้อความ ข่าวช่องวัน (engagement 31,407) นำเสนอว่า บางส่วนมองว่า ดอกเบี้ย 1% ที่ทาง กยศ.เรียกเก็บนั้นน้อยมากทางกยศ. คิดผู้กู้ 1% รวมไปถึงเบี้ยปรับ ถ้าเทียบกับดอกเบี้ยค่าบ้านแล้วถือว่าน้อยกว่ามาก
  • https://www.facebook.com/onenews31/photos/a.1122306951191112/5757422467679514/

และ Facebook ของสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว (engagement 27,592) เขียนข้อความว่า ดูก็ผ่อนปรนให้มากแล้วนะครับ … พร้อมทั้งกยศ.ชี้แจงประเด็นกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา

  • https://www.facebook.com/photo/?fbid=653795216107421&set=a.328293581990921
  • วันที่ 20/08/2565 : มีข้อความ 369 ข้อความ มี Engagement 2,131 มีคนฝ่ายรัฐบาลออกมาพูด
  • พรรคประชาธิปตย์ นายชัยชนะ เดชเดโช รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวเกี่ยวกับแคมเปญล้างหนี้ กยศ. บอกว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ถือเป็นหลักการทั่วไปก็คือ ‘มีหนี้ก็ต้องจ่ายคืน’ และอย่าไปให้ความเชื่อถือกับอาจารย์หรือนักการเมืองที่ชอบให้ท้ายแบบผิดๆ

https://www.facebook.com/photo/?fbid=618715439612314&set=a.481842073299652

  • เนชั่นสุดสัปดาห์ ลงข่าวว่า โฆษกรัฐบาล ออกมาเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงว่า “การยกหนี้กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ กยศ. แต่จะทำให้ผู้กู้ขาดวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต แต่รัฐบาลเข้าใจปัญหาของหนี้ กยศ. ตามกฎหมายปัจจุบัน จึงได้เสนอแก้ไขให้การชำระหนี้ กยศ. ยังคงเป็นไปตามหลักเป็นหนี้ต้องใช้หนี้แต่ผ่อนปรนการชำระหนี้ กยศ. ให้สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร”

https://www.facebook.com/nationweekend/photos/a.10150399987470211/10159800077660211/

  • วันที่ 25/08/2565 : มีข้อความ 138 ข้อความ มี Engagement 1,046
    • ช่อง 7 นำเสนอข่าว เกี่ยวกับไบเดน ประธานธิบดีสหรัฐอเมริกาออกมา ประกาศช่วย #ล้างหนี้กยศ.ให้ชาว สหรัฐอเมริกา คนละ 10,000 ดอลลาร์

https://www.facebook.com/Ch7HDNews/photos/a.407345295971939/6145505258822552/

และช่อง Spokedark เชิญอาจารย์ออกแคมเปญ มาร่วมพูดคุยแสดงเกี่ยวกับแคมเปญอีกด้วย

วันที่ 14/09/2565 : มีข้อความ 219 ข้อความ สภาเห็นชอบให้เงินกู้กยศ ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย

  • วันที่ 15/09/2565 : มีข้อความ 235 ข้อความ มีการโพสต์จากสรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ว่ากระทรวงการคลังมีข้อกังวลว่าการปลอดดอกเบี้ยอาจทำให้ไม่มีวินัย ไม่มีแรงจูงใจให้ใช้หนี้ และคนรุ่นต่อไปที่จะกู้อาจจะกู้ได้น้อยลง

https://www.facebook.com/photo/?fbid=673955280758081&set=a.328293581990921

  • วันที่ 19/09/2565 : มีข้อความ 123 ข้อความ
    • วราวุธ ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกดอกเบี้ย (src) หลังจากที่ร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาในวาระ 3 แล้ว เรื่องการคิดดอกเบี้ย ที่ลงมติว่าดอกเบี้ย 0% มองว่าก่อให้การผลกระทบ

ในโซเซียลได้ออกมาแสดงความคิดเห็น จนเสียงแตกเพราะการล้างหนี้…อาจไม่ตอบโจทย์อย่างที่คิด

จากที่มีการโพสต์เชิญชวนคนมาเข้าชื่อ เกิดประเด็นถกเถียง คนในโซเซียลแบ่งเป็นสองเสียงทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ชวนไปดูว่าคนเห็นด้วย – ไม่เห็นด้วยกับประเด็นอะไรบ้าง

ทดประเภทของคนที่เห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย

เห็นด้วย

เพราะ

  • ทุกคนควรเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกัน
  • มีคนที่เห็นด้วยให้เลิกหนี้ แต่เลิกเฉพาะหนี้ค่าเทอม ค่าอื่นๆต้องจ่ายเหมือนเดิม (ตัวอย่าง)

ไม่เห็นด้วย

คีย์เวิร์ด

  • ยุติธรรม/แฟร์
    • ไม่ยุติธรรมกับคนที่ใช้หนี้หมดแล้ว(ลูกหนี้ที่ดี)
    • ไม่ยุติธรรมกับคนที่เคยกู้ไม่ผ่านแล้วสุดท้ายก็ไม่ได้เรียน หรือ ต้องไปหาเงินจากช่องทางอื่น เช่น ขายนา หรือ กู้จากช่องทางอื่น
    • ถ้าจะแฟร์จริง ต้องจ่ายคืนให้คนที่จ่ายครบแล้วด้วยมั้ย หรือ ต้องล้างหนี้ประเภทอื่นด้วยมั้ย เช่น หนี้ครู
  • เสียเปรียบ/เอาเปรียบ
    • คนที่จ่ายไปแล้วเสียเปรียบ
    • แต่ในกลุ่มmessageนี้ ก็มีคนที่ใช้คำนี้เพื่อพูดว่า ที่ไม่เห็นด้วย ไม่ใช่เพราะกลัวเสียเปรียบ แต่เป็นเรื่องความรับผิดชอบ(src)
  • ทำลายโอกาส
    • ในการเรียนของคนรุ่นต่อไป เพราะไม่เหลือเงินให้กู้
  • วินัย/มักง่าย
    • ส่งเสริมให้คนมักง่าย ขาดวินัยทางการเงิน ไม่รับผิดชอบ > เป็นหน้าที่ของลูกหนี้ที่ต้องใช้คืน (ไม่คืน=โกง ทุจรติ คอรัปชัน)
      • ผู้กู้หลายคน ไม่ได้จนจริง และเป็นการกู้ไปทำอย่างอื่น
  • ‘เห็นแก่ตัว’ เป็นคำที่ถูกใช้จากทั้ง2ฝั่ง
    • ฝั่งเห็นด้วย : บอกว่าคนที่ไม่เห็นด้วยเพราะกลัวเสียเปรียบ คือคนเห็นแก่ตัว (src)
    • ฝั่งไม่เห็นด้วย : บอกว่าคนที่ไม่จ่ายหนี้เป็นคนเห็นแก่ตัว
  • เท่าเทียม (ถูกใช้โดนทั้ง2ฝั่ง)
    • ฝั่งเห็นด้วย : บอกว่าสิ่งนี้นำไปสู่ความเท่าเทียม (src)
    • มองว่าเป็นคนละประเด็นกับการศึกษาเท่าเทียม (src)
      • (อาจจะเพราะหลายคนเคยเห็นคนที่กู้กยศเพื่อไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่การศึกษา)

ข้อเสนอจากคนไม่เห็นด้วยผ่านคีย์เวิร์ด

  • จิตอาสา
    • ควรยกเลิกกิจกรรมจิตอาสามากกว่า
  • ดอกเบี้ย
    • ควรลดดอกเบี้ยมากกว่า (น่าจะหมายถึงเบี้ยปรับ) vs. แต่ก็มีคนบอกว่าดอกเบี้ยเดิมก็น้อยมากอยู่แล้ว (1%)
    • ควรยกเลิกดอกเบี้ยไปเลย(src) vs. แต่ก็มีคนบอกว่า ถ้ายกเลิกดอกเบี้ย/เบี้ยปรับแล้วใครจะมีแรงจูงใจจ่าย(src)
  • ค้ำประกัน
    • ควรยกเลิกผู้ค้ำประกันมากกว่า (src)
    • ควรไปล้างหนี้ให้คนค้ำประกันแทนดีกว่า (src)
  • เรียนฟรี (ที่intersectกับไม่เห็นด้วย)
    • คนไม่เห็นด้วยกับการล้างหนี้จำนวนมาก บอกว่าเห็นด้วยกับการเรียนฟรีในอนาคต (src)
    • ควรปฏิรูปการศึกษามากกว่า โดยเฉพาะสายอาชีพ

      ทดบทความที่ชวนตั้งประเด็นต่อเรื่องเรียนฟรี

      (เนื่องจากคนส่วนใหญ่เอาเรียนฟรี ไม่เอาล้างหนี้ แต่ยังไม่มีใครถกกันมากนักเรื่องเรียนฟรีดีจริงป่าว)

ประเด็นคนเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยที่ของชาวโซเซียลมีเดีย เป็นการแสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่ากยศ.ควรดำเนินการ ปรับไปในทิศทางใด

อย่างไรก็ตามประเด็นกยศ. ไม่ได้เป็นที่นิ่งนอนใจ หลายพรรคมีความพยายามเสนอร่างกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาก่อนหน้านี้แล้ว

ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .… ถูกเสนอจากส.ส. 4 ร่าง และคณะรัฐมนตรี 1 ร่าง ได้แก่

  1. โดยพรรคประชาธิปัตย์ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
  2. โดยพรรคพรรคประชาชาติ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
  3. โดยพรรคพรรคภูมิใจไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
  4. โดยพรรคพรรคเพื่อไทย นายครูมานิตย์ สังข์พุ่ม กับคณะ เป็นผู้เสนอ
  5. โดยคณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ

ทุกร่างผ่านขั้นที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ลงมติเห็นชอบแล้ว แต่ยังต้องไปต่อเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภาพิจารณา https://web.parliament.go.th/view/1/ระเบียบวาระการประชุม_สส/TH-TH

พามาย้อนดูไทม์ไลน์ของพ.ร.บ.กยศ. ที่เข้าสู่สภา

  • วันที่ 03/12/2563 : พรรคภูมิใจไทย เสนอร่างกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • วันที่ 28/12/2564 : คณะรัฐมตรี เสนอร่างกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • วันที่ 06/01/2565 : พรรคประชาชาติ เสนอร่างกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • วันที่ 10/01/2565 : พรรคเพื่อไทย เสนอร่างกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • วันที่ 18/01/2565 : พรรคประชาธิปัตย์ เสนอร่างกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
  • วันที่ 19/01/2565 : ร่างกฎหมายกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ถูกเสนอโดยคณะรัฐมตรี เข้ารับการพิจารณาในวาระแรกของส.ส.
  • วันที่ 26/01/2565 : มีการพิจารณาการลงมติในวาระที่ 1 รับหลักการส.ส. ซึ่งให้นำร่างในแบบเดียวกันมาพิจารณาพร้อมกัน (พิจารณาทั้ง 5 ฉบับ) และให้ตั้งคณะกรรมธิการวิสามัญ 35 คนเพื่อพิจารณากฎหมาย
    • เห็นด้วย 347 ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 1 ไม่ลงคะแนนเสียง 2
  • วันที่ 31/08/2565 : มีการพิจารณาและผ่านการลงมติในวาระที่ 2 คณะกรรมการวิสามัญพิจารณาเสร็จ
  • ในวันนี้เนื่องจากมีการพิจารณารายมาตราในร่างกฎหมาย พรรคก้าวไกลมี 5 ข้อเสนอสำคัญ
    • ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการกยศ.ได้ถ้วนหน้า (ยกเลิกม.4 ไม่ต้องพิสูจน์ความจน)
    • ขยายเงื่อนไขให้ทุนเรียนฟรี สำหรับผู้เรียนบางกลุ่ม (ม.5 ให้ทุนการศึกษาแบบให้เปล่ากับผู้เรียนบางกลุ่ม ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกไปสู่การเรียน ปวส. ฟรี หรือ ปริญญาตรี ฟรี สำหรับบางกลุ่ม)
    • ยกเลิกการมีผู้ค้ำประกันในทุกรณี (ม.13)
  • วันที่ 14/09/2565 : ลงมติในวาระที่ 3 ผ่านแล้ว และต้องส่งให้ส.ว.พิจารณาต่อไปแต่ประเด็นเรื่องดอกเบี้ยนั้น เป็นที่ถกเถียงกัน โดยจุดยืนในการปลอดดอกเบี้ย มองว่าคนเป็น%