จะเก็บภาษีน้ำตาลดีไหม? จะคัดกรองโรคหัวใจคนในประเทศอย่างไรให้ดีขึ้น? จะส่งเสริมให้คนออกกำลังกายด้วยการโฆษณาผ่านสื่อดีหรือเปล่า?
นี่คือตัวอย่างของนโยบายด้านสุขภาพที่ผู้กำหนดนโยบายทั่วโลกต้องขบคิดและตัดสินใจ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน แต่การจะได้มาซึ่งนโยบายที่มี ‘ประโยชน์’ และ ‘คุ้มค่า’ นั้นไม่ใช้เรื่องง่ายๆ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างต้องพิจารณา ทั้งตัวเลือกที่หลากหลาย งบประมาณที่จำกัด การเมือง และอีกสารพัด ผู้กำหนดนโยบายจึงต้องการเครื่องมือช่วยพวกเขาให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ไม่ให้งบประมาณของประเทศต้องเสียเปล่า
Punch Up ได้รับโจทย์จาก โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (Health Intervention and Technology Assessment Program) หรือ HITAP หน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุขไทย ผู้ขับเคลื่อนการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการในการตัดสินใจด้านนโยบายด้านสุขภาพของภาครัฐ ให้ช่วยนำเครื่องมือช่วยตัดสินใจด้านนโยบายสุขภาพ ที่ชื่อว่า ‘The SEED TOOL’ มาสื่อสารให้ผู้กำหนดนโยบายสาธาณสุขทั่วโลกเข้าใจได้ง่ายขึ้นและน่าสนใจขึ้น ในรูปแบบออนไลน์และเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
งานชิ้นนี้เป็นการแปลง ‘The SEED TOOL’ ซึ่งเป็น framework ที่ช่วยไล่เรียงประเด็นสำคัญที่ต้องขบคิดในการตัดสินใจนโยบายด้านสุขภาพ 5 ด้าน มาเป็นสื่อในแบบ Interactive Checklist ที่ทำให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ผ่านการตอบคำถามทีละข้อ และสรุปผลให้เห็นเพื่อนำไปปรับใช้ต่อได้
เนื้อหาของงานเน้นไปที่นโยบายเกี่ยวกับโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรือ Non-communicable diseases (NCDs) ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นของโลก เรานำตัวอย่างจริงมาทำเป็นควิซสั้นๆ ให้ได้เห็นว่าการจะตัดสินว่านโยบายต่างๆ คุ้มค่าหรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
เพื่อให้เข้าใจง่ายและไม่น่าเบื่อ เราเลือกใช้เหตุการณ์สมมุติที่ใกล้ตัวอย่างการซื้อนาฬิกา Fitness Trackers มาเป็นตัวอย่างในการใช้ The SEED Tool โดยทำเป็นคำถาม Checklist สั้นๆ 5 ข้อ พร้อมข้อมูลอธิบาย
เมื่อตอบคำถามครบทั้ง 5 ข้อ คำตอบจะถูกประมวลผลให้เห็นว่า การตัดสินใจนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนโยบายที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่าหรือไม่ใน 3 ระดับคือ ‘Best Buy’, ‘Wasted Buy’, และ ‘Contestable Buy’ ซึ่งมีเอกสารสรุปให้ได้ดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งานต่อได้อีกด้วย
เครื่องมือนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะผู้กำหนดนโยบายด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับโรค NCDs เท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้กับนโยบายด้านอื่นๆ ร่วมถึงประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจระดับบุคคลได้อีกด้วย โดยทำให้เห็นว่าการตัดสินใจบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์นั้นเป็นเรื่องสำคัญจำเป็น
ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดตัวหนังสือ Non-Communicable Disease Prevention: Best Buys, Wasted Buys and Contestable Buys โดย HITAP สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและดาว์นโหลดหนังสือได้ที่ https://www.buyitbestncd.health/
ดูผลงาน How To Buy It Best – the SEED Tool ได้ที่ http://seed.buyitbestncd.health/