‘ข้อมูล’ อยู่ในชีวิตเราทุกๆ วัน เราเป็นคนเสพ เราเป็นคนใช้ และหลายๆ ครั้ง เรานี่แหละที่เป็นคนสร้าง เพียงแต่เราอาจจะไม่ทันสังเกต ไม่ทันรู้ตัว
ข้อมูลอยู่ทั้งในเวลาที่เราตื่น อาหารเช้าที่เรากิน วินาทีที่เราก้าวเท้าขึ้นรถออกจากบ้าน หรือแม้แต่ในตอนที่เราใส่หูฟังแล้วกดเพลย์
ชวนดู ชวนฟัง คอลเล็กชั่น data + music จาก Tableau ที่หยิบเอาข้อมูลเกี่ยวกับบทเพลง ศิลปิน และเพลย์ลิสต์ที่เราคุ้นเคย หรือฟังอยู่บ่อยๆ มาวิเคราะห์และแสดงผลเป็น data visualization รูปแบบต่างๆ ที่น่าสนใจ
? The Beatles Analysis
ชื่อของวง The Beatles โดดเด่นขึ้นมาในวันที่เพลง ‘Please Please Me’ ปล่อยออกมาในปี 1962 หลังจากนั้น วงดนตรีในตำนานนี้ก็ผลิตผลงานเพลงออกมาถึง 310 เพลง และหลายๆ บทเพลงยังคงถูกขับร้องมาจนปัจจุบัน
ด้วยความสงสัยส่วนตัวว่าสมาชิกวงอย่าง Paul McCartney และ John Lennon มีสไตล์การเขียนเพลงที่แตกต่างออกไปไหม เมื่อเวลาเปลี่ยนไป Adam E. McCann จึงได้เลือกหยิบเอา 175 บทเพลงจาก 18 อัลบั้มในช่วงปี 1964-1970 ของ The Beatles มาวิเคราะห์และ visualize ให้เห็นแพทเทิร์นบางอย่าง
เพลงอะไรที่ฮิตรองลงมาจาก ‘Let it be’? ใครกันคือคนที่เขียนเพลงฮิตมากที่สุด? เพลงส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร หรือแต่ละคนใช้คำไหนในการแต่งเพลงบ่อยๆ กันบ้าง? หรือแต่ละเพลงมีการใช้คำในเพลงหลากหลายมากแค่ไหน ลองดูได้ที่ Beatles Analysis
? Spotify Playlist Emojis
คุณเคยสร้างเพลย์ลิสต์ของตัวเองใน spotify บ้างไหม? ผู้ใช้ spotify ทั่วโลก ได้สร้างเพลย์ลิสต์ไปแล้วกว่า 35 ล้านเพลย์ลิสต์ และที่น่าสนใจคือ ในชื่อเพลย์ลิสต์เหล่านั้น มักมีการใช้ emoji อยู่ด้วย Skyler Johnson จึงได้ทดลองรวบรวมข้อมูลเพลย์ลิสต์เพื่อวิเคราะห์ดูว่า emoji ไหน มีความสัมพันธ์กับ genre เพลงหรือศิลปินคนไหนบ้าง
??? สำหรับเพลงคันทรี หรือ ?? สำหรับเพลงฮิปฮอป เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่อาจจะพอเดาได้ แต่พอจะรู้ไหมว่า ? นี่หมายถึงศิลปินคนไหน หรือเพลงใน Game of Thrones น่าจะใช้ emoji อะไร ลองดูกันได้ที่ The Emoji of Spotify Artists
? Agencies Behind K-Pop’s Biggest Stars
“มีวง K-Pop อยู่เยอะแยะเลย ผมอยากจะรู้ว่าอะไรที่ทำให้วงๆ หนึ่งดังกว่าวงอื่น” Jay Yeo เลยเอาข้อมูลวงดังในปี 2017 ที่มีส่วนสร้างรายได้ให้กับธุรกิจเพลงของเกาหลีใต้มาวิเคราะห์ ว่าแต่ละวงมีศิลปินและเอเจนซี่ไหนที่อยู่เบื้องหลังบ้าง นอกจากนี้ ยังเจาะลงลึกถึงลักษณะศิลปินของแต่ละค่าย รวมถึงรายได้และกำไร แถมยังมียอดวิวมิวสิควิดีโอ ซึ่งถือเป็นช่องทางสำคัญในการเปิดโอกาสให้โลกรู้จักวงดนตรีหรือศิลปินคนนั้น
ลองดูได้ที่ K-Pop Artists
? Christmas Music on Spotify
คริสต์มาสของเรา.. ไม่เท่ากัน Eva Murray ได้ลองใช้ข้อมูลจาก spotify เพื่อดูว่าแต่ละประเทศ เริ่มฟังเพลงที่เกี่ยวกับเทศกาลคริสต์มาสกันบ่อยๆ ช่วงไหน และมีความถี่ในการฟังเท่าไหร่เมื่อเทียบกับเพลงอื่นๆ ใน spotify น่าสนใจที่ฟิลิปปินส์ดูจะเริ่มบรรยากาศคริสต์มาสเร็วกว่าเพื่อน คือตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน และแน่นอนว่ากลุ่มประเทศนอร์ดิกอย่างไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน ก็ดูจะเปิดเพลงเฉลิมฉลองบ่อยกว่าใคร
ในชุดข้อมูลนี้ ประเทศไทยดูจะฟังเพลงคริสต์มาสกันไม่เข้มข้นเท่าไหร่ ก็เป็นไปได้ว่าช่วงนั้น เราอาจจะเปิดเพลงรื่นเริงเถลิงศกกันอยู่ ลองดูได้ที่ Spotify Christmas music
? Who Are The Most Successful Artists in Music History
ใครคือศิลปินที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์? Torben Kraft ใช้ข้อมูลจาก Billboard Hot 100 Year-End Chart เป็นส่วนหนึ่งในคำตอบของคำถามนี้ได้ โดยเขาได้รวบรวมเพลงฮิตติดชาร์ตตั้งแต่ปี 1956-2018 มาวิเคราะห์ พบว่าแรปเปอร์อย่าง Drake เป็นคนที่มีเพลงติดชาร์ตบ่อยที่สุด แต่มากกว่าครึ่งนึงของผลงานเขานั้นเป็นการ featuring ขณะที่ถ้าตัดเพลง featuring ออกหมด Elvis Presley ก็นับว่าเป็นศิลปินเดี่ยวที่มีเพลงฮิตติดชาร์ตบ่อยที่สุด
นอกจากนี้ เทรนด์ featuring ดูจะเริ่มฮิตมากในช่วงกลางยุค 90 ด้วยความที่เพลงแร็ปและฮิปฮอปได้รับความนิยมมากในช่วงนั้น Kraft เลยทำการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างศิลปินว่าใคร feat ใครบ่อยด้วย ลองดูได้ที่ The Most Successful Artists
? THE GOLDEN RECORD
เมื่อปี 1977 NASA ได้ส่งยาน Voyager 2 ลำไปสำรวจอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกเหนือไปจากบนโลกของเรา นอกจากภารกิจสำรวจและค้นหาแล้ว Voyager ทั้งสองลำ ได้นำคำทักทายจากชาวโลก ทั้งในรูปแบบgเสียงพูด เสียงเพลง หรือเสียงบรรยากาศ บรรจุใส่แผ่นทองคำ (The Golden Record) ไปเพื่อเป็นข้อความถึงชาวนอกโลกด้วย
Samuel Parsons ได้นำเรื่องราวเหล่านี้ และคลิปเสียงต่างๆ ใน The Golden Record มาวิเคราะห์และเล่าเป็นเรื่องราวผ่าน visualization ที่จำลองบรรยากาศของอวกาศมาไว้บนหน้าจอ ลองสำรวจอวกาศและฟังเสียงจากโลกได้ที่ The Golden Record