คำว่า Data Visualization อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องซับซ้อนหรือไกลตัวสำหรับหลายคน แต่จริงๆ แล้ว มันอาจเป็นการแสดงผลข้อมูลใกล้ตัว ในรูปแบบง่ายๆ ที่เราเองก็ทำได้ในชีวิตประจำวัน
อย่างข้อมูลเวลานอนของเรา หรือของลูกเรา ก็เอามาทำแสดงผลเป็นภาพได้ อย่างเช่นคุณแม่มือใหม่ Seung Lee ที่ต้องการประดิษฐ์ของขวัญให้กับลูกน้อยของเธอในแบบที่ไม่เหมือนใคร เธอจึงเลือกบันทึกการนอนของลูกชายตลอด 1 ปี และถักผ้าห่มที่แต่ละแถวแสดงข้อมูลการนอนของลูก ด้วยหลักง่ายๆ ให้แต่ละแถวแทนจำนวนวันในหนึ่งปี และการเย็บสีหนึ่งครั้ง หมายถึงช่วงเวลาการนอนหลับของลูกน้อยทุกๆ 6 นาที
เธอใช้เวลา 300 ชั่วโมง กับการถัก 185,000 ครั้ง จนกระทั่งออกมาเป็นผ้าห่มผืนน้อยให้ลูกของเธอได้ใช้ห่ม และเมื่อเขาโตขึ้นคงปลาบปลื้มกับความทุ่มเทของคุณแม่สำหรับผ้าห่มผืนนี้มากทีเดียว ดูผลงานของเธอได้ที่ Lagomorpho
อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจ เกิดจากไอเดียของ Lara Cooper นักชีววิทยาสัตว์ป่า ที่ชอบการถักโครเชต์เป็นงานอดิเรก เธอต้องการทำผ้าห่มผืนใหญ่ที่แสดงสถิติการเพิ่มสูงขึ้นของอุณภูมิโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน Cooper ไม่ได้ต้องการเพียงผ้าห่มผืนเล็ก แต่ต้องการให้ผ้าห่มสามารถใช้ได้กับผู้ใหญ่ด้วย
เธอใช้เวลากว่า 70 ชั่วโมงในการออกแบบและถัก โดยเปลี่ยนวิธีการถักจากแนวยาวเป็นการถักรูปทรงหกเหลี่ยมที่มีสีที่แตกต่างกันตั้งแต่สีน้ำเงิน สีฟ้า ไล่ขึ้นมาเป็นชมพู ส้มและแดง สื่อถึงอุณหภูมิที่สูงขึ้นตามสถิติของ NASA Goddard Institute of Space Studies เพื่อนำมาต่อกันเป็นผ้าห่มผืนใหญ่ที่สร้างความตื่นตัวให้กับผู้ที่ได้ใช้มันเป็นอย่างดี
อ่านเรื่องราวผ้าห่มอุณภูมิโลกของ Lara Copper ได้ที่ makezine.com